วันพฤหัสบดีที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2556

การจัดทำหนังสือเล่มเล็ก

3 ความคิดเห็น

ที่มาของภาพ: http://sakaeo-sc.ac.th/sk/data/littlebook/6/64.jpg

 

ขั้นตอนการเขียนหนังสือเล่มเล็ก
        ขั้นที่ 1 ขั้นการวางโครงเรื่อง การสร้างตัวละคร กำหนดฉาก กำหนดโครงเรื่อง ลองเล่าให้เด็กๆ ฟัง แล้วจึงกำหนดความยาวของเรื่อง
ขั้นที่ 2 การลงมือเขียนตามลำดับขั้นตอนที่กำหนดรายละเอียดไว้ แล้วตั้งชื่อเรื่อง หลังจากนั้นลองทบทวนดูชื่อเรื่องเหมาะสมกับเนื้อเรื่องหรือไม่ เมื่อเขียนเสร็จแล้วควรอ่านเพื่อตรวจหาข้อผิดพลาด เพื่อแก้ไขปรับปรุงจนพอใจและดีที่สุด
ขั้นที่ 3 การจัดทำรูปเล่ม การจัดเตรียมกระดาษ กว้างยาวเท่าไร ตามขนาดของรูปเล่มที่ผู้เขียนกำหนดขึ้น แล้วลงมือวาดภาพประกอบในแต่ละหน้า ตามที่เขียนเรื่องไว้ ให้สอดคล้องกับเนื้อเรื่องทีละหน้า โดยเรียงตามลำดับเหตุการณ์ของเรื่องจนจบเรื่อง จากนั้นเป็นขั้นตอนของการลงสี ก่อนการลงสีควรตรวจดูภาพที่วาดประกอบเรื่องว่า ภาพที่วาดสอดคล้องกับเนื้อเรื่องหรือไม่
การจัดทำส่วนประกอบของหนังสือ ดังนี้ ปกหน้า ปกใน คำนำ คำชี้แจง คำรับรองของผู้บริหาร คณะผู้จัดทำ บรรณานุกรมและปกหลัง การเข้าเล่ม ให้เรียงลำดับดังนี้ ปกหน้า ปกใน คำนำ คำชี้แจง เนื้อเรื่อง คำอธิบายศัพท์ท้ายบท คำรับรองผู้บริหาร คณะผู้จัดทำ บรรณานุกรม ปกหลัง
กลยุทธ์ สู่ความสำเร็จของหนังสือเล่มเล็กคือ “การมีส่วนร่วมในบทเรียน (Active articipation)” ส่งเสริมให้ผู้เรียน มีมารยาท มีวินัย ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีของสังคมฝึกให้ผู้เรียนมีทักษะกระบวนการอ่าน คิด วิเคราะห์ และเขียน ใช้กระบวนการ จากเรื่องที่อ่านมาแยกแยะข้อเท็จจริง และข้อคิดเห็นจากกระบวนการอ่าน โดยผ่านกระบวนการศึกษาค้นคว้า กระบวนการ ฝึกปฏิบัติ กระบวนการสร้างความคิดรวบยอด คิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ กระบวนการทางภาษา กระบวนการประชาธิปไตย และกระบวนการเขียน สามารถนำทุกกลุ่มสาระมาบูรณาการ เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ให้กับผู้เรียนได้อย่างเป็นระบบ แต่ประการสำคัญที่สุด คือ ครูต้องดูแลอย่างใกล้ชิด
หนังสือเล่มเล็ก คือ สื่อประเภทหนึ่ง ซึ่งผู้แต่งได้แต่งหนังสือตามกรอบเรื่องที่ได้รับและจัดทำเป็นรูปเล่มสำเร็จ โดยมีความเหมาะสมของเนื้อหา ภาษาที่ใช้ ขนาดตัวอักษร ภาพประกอบและความสวยงามน่าอ่าน การทำหนังสือเล่มเล็ก เป็นการบูรณาการทักษะทางภาษา ฟัง พูด อ่าน เขียน ดู แล้วนำมาสร้างจินตนาการ ถ่ายทอดโดยการเขียน เราสามารถบูรณาการทุกกลุ่มสาระ การทำหนังสือเล่มเล็กนอกจากจะครอบคลุมทุกกลุ่มสาระ ยังทำให้เกิดความเพลิดเพลิน เป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ทำให้เกิดจินตนาการ มีความคิดสร้างสรรค์อีกด้วย
ที่มา : http://www.sahavicha.com/?name=article&file=readarticle&id=1678

ขั้นตอนการวางแผนการเขียนหนังสือสำหรับเด็ก
1. สำรวจแรงบันดาลใจในการเขียน
2. ศึกษาลักษณะหนังสือสำหรับเด็ก
3. กำหนดองค์ประกอบในการเขียน
3.1) กำหนดประเภทของหนังสือ
3.2) กำหนดผู้อ่าน
3.3) กำหนดหัวข้อเรื่อง/เนื้อหา
3.4) ศึกษาข้อมูลของหัวข้อเรื่องหรือเนื้อหา
3.5) วางจุดประสงค์ หรือแก่เรื่อง หรือแนวคิดหลักของเรื่อง
3.6) วางโครงสร้าง เนื้อหาหรือโครงเรื่อง (plot)

การเขียนโครงเรื่องหนังสือบันเทิงคดี
(หนังสือส่งเสริมการอ่าน นิทาน นิยาย เรื่องสั้นสำหรับเด็ก)
  • ตอนต้นเรื่อง ได้แก่ เปิดฉาก แนะนำตัวละคร ปัญหาของตัวละคร
  • ตอนกลางเรื่อง ได้แก่ ปัญหาของตัวละครส่งผลกระทบให้เกิดเรื่องราวต่าง ๆ หลายเรื่อง (เน้นแก่นเรื่อง)
  • ตอนปลายเรื่อง ได้แก่ แก้ไขปัญหา นำไปสู่ตอนจบอย่างสร้างสรรค์ มีจุดสะเทือนใจ/ จุดตื่นเต้น โดยเน้นเหตุการณ์ที่เคลื่อนไหว

ที่มา : กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). เทคนิคการเขียนหนังสือสำหรับเด็ก. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.